facebook  youtube  line

Q&A กับคุณหมอประเสริฐ

รวม 20 เรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามมากที่สุด

 การเลี้ยงลูก-พัฒนาการ- เลี้ยงลูกเชิงบวก- ถามตอบกับคุณหมอ- หมอประเสริฐ- คุณหมอประเสริฐ- นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์- จิตแพทย์- หมอจิตแพทย์

รวมเรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามเข้ามามากที่สุด

รวมคำถามหนักใจแม่ พร้อมคำตอบเบาใจในการเลี้ยงดูแบบเชิงบวก ฉบับ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ จิตแพทย์และนักเขียน

20 เรื่องของหมอประเสริฐที่แม่ถามเข้ามามากที่สุด

1.เรื่องไหนบ้างที่ต้องเข้มงวดกับลูก

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3szNIQs

 

2.เด็ก 9 ขวบ มีอะไรที่เราควรใส่ใจบ้าง

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3bS6Nqr

 

3.“คุณหมอคะ พี่แกล้งน้องตีน้องประจำเลย สอนไม่รู้กี่ครั้งแล้ว”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2NLeIOu

 

4.“คุณหมอคะ ลูกดื้อและงอแงประจำ พูดก็แล้ว ตีก็แล้ว ก็ไม่ฟัง”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3bOot6w

 

5.“คุณหมอคะ ทำไมหนูพูดอะไรลูกก็ไม่ฟังเลย”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2PqzMdu

 

6.สอนอะไรลูกก็ไม่ยอมเชื่อฟังแม่เลย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3e10d3E

 

7.ลูกมีมือถือของตัวเองได้เมื่อไร

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2OdokkK

 

8.เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่ให้เอาแต่ใจและรักสบาย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3q2THMh

 

9.ทำไมลูกทำตัวน่ารักกับคนอื่น แต่ดื้อกับพ่อแม่

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2O9bcNA

 

10.หนักใจ พี่น้องชอบทะเลาะกัน

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3e02SKX


 

11.เมื่อจะเป็นแม่ ทักษะอะไรบ้างที่ต้องมี

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3sz7z2i

 

12.ลูก “ดื้อ” รับมือให้ได้

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/30h1Ouh

 

13.การเลิกนมมื้อดึก มิได้อยู่ที่นมแต่อยู่ที่ “แม่”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3sGsZuo

 

14.เลี้ยงลูกอย่างเดียว เป็น Burn Out Syndrome ได้ไหม

คลิกอ่านบทความได้ที่ :https://bit.ly/3b4GIoQ

 

15.เมื่อมีน้อง ควรให้ความสำคัญแก่พี่มากกว่าน้องเล็กน้อย

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/381zMH9

 

16.“ฝึกลูกให้ลำบากก่อนสบายทีหลัง”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/2Ppx08l

 

17."เลือกโรงเรียนอย่างไรดี"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/380sfsk

 

18."เรียกใช้อะไรก็ไม่ทำ การบ้านก็ไม่เสร็จ"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/3uKBir2

 

19.“ให้ลูกดูทีวีได้เมื่อไรคะ และควรมีแนวทางอย่างไร”

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/303nIRs

 

20."พ่อแม่ไม่มีเวลา จะให้เวลาลูกได้อย่างไร"

คลิกอ่านบทความได้ที่ : https://bit.ly/37Y8IZi

 

 นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

ทักษะพ่อแม่, การเลี้ยงลูก, การสอนลูก, งานสัมมนาแม่ท้อง , Q&Aกับคุณหมอประเสริฐ, เลี้ยงลูกเชิงบวก

  • Hits: 6357

เด็ก 9 ขวบ มีอะไรที่เราควรใส่ใจบ้าง

2715

เด็ก 9 ขวบ มีอะไรที่เราควรใส่ใจบ้าง

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกอายุ 9-10 ขวบ มีเรื่องที่ควรรู้ ดังนี้

1.พัฒนาการที่ผ่านมาแล้ว

หากเราพบปัญหาพฤติกรรมของเด็ก 9-10 ขวบ ขอให้ทราบว่าการแก้ปัญหาปลายเหตุเป็นเรื่องๆอาจจะทำได้ยาก  เรื่องมักจะง่ายกว่าถ้าเราย้อนไปดูพัฒนาการที่ผ่านมาแล้วแล้วซ่อมแซมหรือเสริมสร้างใหม่ไปทีละขั้น

ขั้นที่ 1 แม่มีอยู่จริงหรือยัง หากแม่หรือพ่อมิได้มีอยู่จริงๆ จะสั่งสอนอะไรมักจะยาก เรื่องจะง่ายกว่าถ้าเรากลับไปเพิ่มเวลาเล่นกับลูกเสียใหม่ หรือแม้กระทั่งเพิ่มกิจกรรมการอ่านนิทานก่อนนอนกันอีกครั้งก็เป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มเวลาที่พ่อแม่ลูกจะใช้ชีวิตด้วยกันและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในยามค่ำคืนก่อนเข้านอน  

ขั้นที่ 2 เขาพัฒนาผ่านขั้นตอนการทดสอบกฎหรือกติกามากพอหรือยัง  ตอนที่เด็กอายุ 2-3 ขวบอันเป็นวัยที่เขามีพลังมาก  เขาจะทดสอบข้อห้ามต่างๆนานาอยู่เสมอหากเราห้ามมากเกินไปเขาจะค้างคา หากเราปล่อยปละละเลยมากเกินไปเขาจะควบคุมตัวเองไม่ได้ พัฒนาการที่ไม่เรียบร้อยในเวลานี้จะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในวันข้างหน้า  ดังนั้นลองย้อนกลับไปเสริมสร้างความสามารถที่จะควบคุมตัวเองให้ทำตามกติกาที่เหมาะสม ไม่มากไปไม่น้อยไป  ทำได้โดยหาเวลาไปเล่นหรือไปทำกิจกรรมด้วยกันนอกบ้าน ในสถานที่โล่งกว้างที่เราไม่จำเป็นต้องมีกฎหรือข้อห้ามอะไรมากมายนัก และเปิดโอกาสให้เขาระบายความคับข้องใจไปจนถึงการลองผิดลองถูก ให้เขาได้ทำมากกว่าไม่ได้ทำ

ขั้นที่ 3 เขาได้ทำงานมากพอหรือยัง  การทำงานเป็นการใช้นิ้วมือทั้งสิบ และนิ้วมือคือสมองที่สอง การทำงานช่วยให้เด็กพัฒนาวงจรประสาทส่วนควบคุมตัวเองได้มากดังนั้นหากเราพบปัญหาพฤติกรรมเมื่ออายุ 8-9 ขวบ เราควรย้อนกลับไปชวนเขาทำงานบ้าน ใช้หลักการ 4 ขั้นตอนคือ ทำให้ดู จับมือทำ ทำด้วยกัน และปล่อยเขาทำ  แล้วชมเชยเมื่อเขาทำสำเร็จ  ผลที่ได้คือเขาจะควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น  

2.พัฒนาการที่กำลังจะมาถึง

ว่ากันว่าเด็กสมัยใหม่เข้าสู่วัยทีนเร็วมาก  ควรระลึกว่าพฤติกรรมบางประการของเขาเป็นไปตามพัฒนาการของวัยรุ่น คือ  

1.ค้นหาอัตลักษณ์  วัยรุ่นเป็นวัยค้นหาอัตลักษณ์ของตนเอง เพื่อเป็นบุคคลใหม่ที่เป็นหนึ่งเดียว เขาพยายามที่จะไม่เหมือนคุณพ่อคุณแม่อีกต่อไป

2.สัมพันธ์คนรัก  วัยรุ่นเป็นวัยที่จะสนใจเพศอื่น  ตื่นเช้ามาก็ครุ่นคิดถึงคนที่รัก หมดเวลาไปกับการทายความในใจของคู่รัก

3.หาแก๊งเข้าสังกัดและเป็นที่ยอมรับของแก๊ง ตอนประถมเขาไปหาเพื่อนเพื่อเล่นหรือทำงานด้วยกัน  แต่พอวัยรุ่นเขาจะไปหาเพื่อนเพื่อทำกิจกรรมที่หลงใหลด้วยกัน ทั้งนี้โดยไม่ฟังคำแนะนำตักเตือนของพ่อแม่

4.กังวลเรื่องสาขาที่จะเรียนและงานที่จะทำในอนาคต 

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์

จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

พัฒนาการวัยรุ่น, ทักษะสมอง EF

  • Hits: 73311

“คุณหมอคะ ลูกดื้อและงอแงประจำ พูดก็แล้ว ตีก็แล้ว ก็ไม่ฟัง”

3717

เรื่องลูกดื้อหรืองอแง ไปจนถึงถีบมือถีบเท้าดิ้นพราดๆเป็นปัญหาที่พบบ่อย  วิธีที่ดีที่สุดคือการ “ทำให้สิ่งแวดล้อมเงียบสงบ” เราเรียกว่า ไทม์เอาท์ (time out)


บางบ้านตีแล้วได้ผล ควรรู้ว่ามักจะได้ผลชั่วคราว จะมีพฤติกรรมอื่นที่ยากกว่าเก่ากลับมา ไม่นับว่าการตีสร้างรอยแผลในใจเสมอ รอยแผลนั้นจะส่งผลต่อชีวิตของเขาในอนาคตไม่มากก็น้อยต่างๆกันไป

บางบ้านพูดยาวมาก ยกแม่น้ำทั้งห้าให้เหตุผลร้อยแปดพันเก้ามาอธิบายให้ลูกฟังจนกระทั่งลูกไม่รู้ว่าแม่กำลังพยายามจะสอนอะไรกันแน่ หากเป็นเช่นนี้วิธีที่ดีกว่าคือพูดให้สั้นลงและตรงประเด็นว่าแม่ห้ามทำอะไร ขอชัดๆ สั้นๆ เสียงจริงจัง และอย่าเบื่อที่จะต้องพูดซ้ำอีกเมื่อเวลาผ่านไป แต่ก็สั้น ชัด เอาจริง

เมื่อเราพบว่าวิธีไหนก็ไม่ได้ผล อับจนปัญญาแล้ว จึงมาถึงการไทมเอาท์ การไทมเอาท์ทำได้ด้วยการอุ้มหรือจูงลูกออกจากพื้นที่เกิดเหตุ คือพื้นที่ที่เขากำลังควบคุมตัวเองไม่ได้ กรี๊ด งอแง ดิ้น เตะต่อย เอาเขาออกมา ไปหาพื้นที่ใหม่ที่สงบ ปลอดภัย เป็นส่วนตัวมากกว่าเดิม

ไทมเอาท์มิใช่การทำโทษหรือทอดทิ้งให้อยู่คนเดียว หรือการขังห้องน้ำหรือการขังในห้องนอน เรายังคงนั่งอยู่กับลูก เป็นเพื่อนลูก นั่งด้วยกัน เป็นสถานที่ที่เราได้นั่งพักไม่มีหน้าตาต้องรักษา ไม่มีกริยาต้องระวัง เราเพียงนั่งกับลูกแล้วรอเขาสงบ

ประเด็นคือเราเงียบ ลูกเงียบ สิ่งแวดล้อมสงบ ลูกสงบ เป็นหลักการพื้นฐานที่สุดข้อหนึ่งของการปรับพฤติกรรม เมื่อพฤติกรรมใดๆพบกับความเงียบ สงบ ไร้การตอบสนอง ไม่ว่าทางบวกหรือทางลบ พฤติกรรมนั้นจะไร้ประโยชน์แล้วหายไปเสมอ (extinction) ระหว่างรอ คุณแม่ยิ้มเล็กน้อย มีเมตตา เอ็นดูที่เขาควบคุมตัวเองไม่ได้และเรายินดีจะรอให้เขาเรียนรู้ว่ากริยาที่ทำไม่เกิดประโยชน์ จะไม่ได้อะไรเลยไม่ว่าทางบวกหรือทางลบ แม่ไม่ให้พอๆกับแม่ไม่ว่า แม่คนใหม่นี้รอได้

แล้วเมื่อเด็กเบาลง เรากอด อันที่จริงจะบอกเขาก่อนก็ได้ครับว่าเงียบเมื่อไรแม่จะกอด เมื่อกอดแล้วบอกเขาด้วยว่าแม่ชอบแบบนี้มากกว่าคือลูกสงบ ในขั้นตอนนี้พอเท่านี้อย่าสั่งสอนหรือต่อความยาวสาวความยืดอะไรอีก เด็กๆจะค่อยๆเรียนรู้เอาเองว่าทำอะไรที่จะไม่ได้อะไร และทำอะไรที่แม่จะปลื้มมากกว่า มีแต่เขาเรียนรู้ได้เองจึงจะเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม

บางทีระหว่างการไทมเอาท์เด็กอาจจะตีแม่เตะแม่ ทำลายข้าวของหรือทำร้ายตีอกชกหัวตัวเอง กริยาทั้ง 3 อย่างเป็นข้อห้ามพื้นฐานทั้งสิ้น มิให้ทำ เราต้องจับเสมอ อย่าลืมว่าเรารุ่นเฮฟวี่เวท เราควรจับได้


นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

ลงโทษ, การลงโทษ, คุณแม่มือใหม่, พัฒนาการเด็ก, ไทมเอาท์

  • Hits: 5734

“คุณหมอคะ พี่แกล้งน้องตีน้องประจำเลย สอนไม่รู้กี่ครั้งแล้ว”

 

หมอประเสริฐ รักลูก Community of the experts
เรื่องพี่น้องแกล้งกันหรือตีกันนี้พบเสมอ เรื่องที่ควรรู้ไว้ก่อนคือเรามีเวลาสิบปีที่จะรอให้เขารักกัน  เวลาสิบปีนั้นนานมาก เราไม่จำเป็นต้องบีบบังคับให้เขารักกันวันพรุ่งนี้

อย่าลืมว่าความรักมิสามารถบังคับกัน แม้แต่ความรักระหว่างพี่น้องเราก็บังคับให้ใครรักใครไม่ได้  และอย่าลืมว่าความรักเกิดจากการร่วมทุกข์ร่วมสุขเสมอ มิได้เกิดจากการร่วมสุขอย่างเดียว  ดังนั้นหลักการข้อแรกๆ คือ เราสามคนคือ แม่-พี่-น้อง อยู่ด้วยกันมากที่สุด มิใช่พอมีน้อง ส่งพี่ไปให้คนอื่นเลี้ยง ส่งไปโรงเรียนพอดี หรือส่งไปนอนกับคนอื่นในยามค่ำคืน

สมมติว่ามีพี่เลี้ยงหรือคนช่วยเลี้ยง เราจ่ายงานธุรการหรืองานวิ่งซื้อของหรืองานเดินหยิบของให้เราแก่ผู้ช่วย แต่งานแตะเนื้อต้องตัวลูกสองคนเป็นของเราเสมอ ใช้ผู้ช่วยให้ถูกวิธีด้วย

หลักการถัดมาคือให้ความสำคัญแก่พี่มากกว่าน้องเล็กน้อยเสมอ ประโยคนี้มิได้บอกให้ลำเอียงเพียงแต่ทำให้พี่เขารู้ตัวว่าเขาเป็นคนสำคัญ เขาเกิดก่อน ตัวใหญ่กว่า มีสิทธิบางประการมากกว่าเล็กน้อย ให้เกียรติแก่เขา เขาจะรับเกียรตินั้นเอาไว้

ทำให้พี่เขารู้ว่าเขาช่วยเหลือแม่ได้ ถ้าแม่เป็นนายอำเภอ ติดดาวผู้ช่วยนายอำเภอให้เขา เขาช่วยแม่ได้เมื่อไรเขาจะช่วยน้องได้ด้วย
ผู้ช่วยนายอำเภอก็ต้องมีเงินเดือน พี่จึงได้ขนมมากกว่าน้อง-เล็กน้อย มีไอติมมาสองก้อน พี่เอาก้อนใหญ่กว่า-เล็กน้อย ซื้อใจเขาให้ได้ วันหนึ่งเขาจะแบ่งขนมและไอติมให้น้องเอง

ในทิศทางตรงข้าม น้องก็จะได้เรียนรู้ว่าพี่ใหญ่ เราควรเคารพพี่บ้างมิใช่เถียงคำไม่ตกฟาก แย่งของพี่มาเป็นของตัว มิหนำซ้ำมีแม่ถือหางเสียอีก
ด้วยหลักการนี้เราจะไม่มีคำว่าลูกคนกลาง มีแต่ลูกคนที่ 1 และ 2 และ 3 และไล่ไปเรื่อยๆ ถ้าไม่กลัวยากจน แต่ทุกคนจะได้รับความรักจากแม่เท่ากันแต่แม่ทำให้ดูว่าพี่คนโตเป็นผู้ช่วยนายอำเภอ ความรักนั้นจะไหลท่วมพี่แล้วล้นลงไปหาน้องๆ ตามลำดับ เรื่องนี้เป็นจิตวิเคราะห์ กล่าวคือความรักนั้นมีปริมาณและท่วมตายได้ถ้าไม่ไหลล้นออกไปเสียบ้าง

บางบ้าน ปัญหาเรื่องพี่ “รู้สึก” ว่าไม่เป็นที่ต้องการนี้เกิดจากคำพูดของคนรอบข้างได้ เช่น แต่นี้ไปเป็นหมาหัวเน่าแล้ว ทำนองนี้ หรือแม้กระทั่งทุกคนในบ้านแสดงความสนใจน้องที่เกิดใหม่กันอย่างออกนอกหน้าและพร้อมเพรียง ดังนั้นเวลามีน้องใหม่ อย่าลืมให้พี่ขายตั๋วก่อนเข้าเยี่ยมน้อง

พี่น้องทะเลาะกันเราควรเปิดโอกาสให้พวกเขาได้ใช้เวลาเจรจาต่อรองและเรียนรู้นิสัยใจคอของกันและกัน อย่าผลีผลามเข้าไปตัดสินความ จะได้ไม่คุ้มเสีย พวกเขาจะทะเลาะกันอีกหลายครั้ง อีกหลายปี แล้วจะเรียนรู้จักกันในที่สุด แล้ววางตำแหน่งของตัวเองอย่างถูกต้องต่อไป เรา-พ่อแม่-มีหน้าที่เพียงแค่ห้ามทำร้ายร่างกายกันเท่านั้น

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

พี่น้อง, พัฒนาการอารมณ์, พัฒนาการเด็ก, พี่แกล้งน้อง

  • Hits: 21912

“คุณหมอคะ ทำไมหนูพูดอะไรลูกก็ไม่ฟังเลย”

3703
 

เพราะอะไรบ้านนั้นแม่เขาพูดอะไรลูกก็ฟัง บ้านนี้แม่พูดอะไรลูกก็ไม่ฟังนั่นสิ เพราะอะไรคำพูดของคุณแม่ไม่ศักดิ์สิทธิ์เอาเสียเลย

เพื่อจะตอบคำถามนี้ คือเพราะอะไรคำพูดของเราไม่ศักดิ์สิทธิ์เอาเสียเลย  เราควรทบทวนเรื่องต่อไปนี้ดูก่อน

เรื่องใหญ่ที่สุดและน่าจะเป็นปัญหาของแทบทุกบ้านคือเรื่องผู้ใหญ่ในบ้านพูดไม่ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนสำคัญที่สุดสองคนพูดไม่ตรงกัน

การที่คุณแม่ไม่สามารถธำรงตนเป็นเสาหลัก ของการพูดหรือคำสั่งสอน มักจะสร้างปัญหามากและมากขึ้นทุกขณะตามฤทธิ์เดชของเด็กที่กล้ามเนื้อแข็งแรงมากขึ้นทุกวัน  ทำอะไรต่อมิอะไรหรือฝ่าฝืนได้สารพัด

ดังนั้นกฎข้อแรกๆ คือทำให้เสียงของเรามีความศักดิ์สิทธิ์ในบ้านก่อนนะครับ วิธีการคือขอคุยกับคุณพ่อตรงๆ ว่าเราขอเรื่องหลักๆ อะไรบ้างที่เราสองคนควรพูดตรงกันหรือทำอะไรเหมือนกัน เช่น วินัยการกินข้าว วินัยการใช้มือถือ วินัยการเข้านอน เป็นต้น

โดยถือหลักเจรจาต่อรองและแลกกัน บางเรื่องหรืออาจจะหลายเรื่องที่เราจ่ายคืนคุณพ่อไป ให้เขาได้ทำอะไรตามใจแต่ไม่สร้างความเสียหายร้ายแรงกับใคร เพื่อขอแลกกับเรื่องใหญ่ๆที่จะมีผลต่อวินัยและพัฒนาการของลูกในวันหน้า

การขัดแย้งกันต่อหน้าลูกเป็นข้อห้าม จะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของคำสอนหรือคำสั่งของพ่อแม่ลดลงทั้งคู่ ดังนั้นอยากจะทะเลาะกันเพียงใดควรอดใจสงบปากสงบคำไปหาที่ถกเถียงกันเป็นส่วนตัว แล้วเอาข้อสรุปมาให้ลูก

เป็นคู่สมรส ควรยอมกันไปยอมกันมาอยู่แล้ว ผิดๆ ถูกๆ บ้างเป็นเรื่องรอง

ท่องไว้เสมอว่าตอนนี้ลูกยังไม่กี่ขวบเลย ปัญหาที่ลูกจะถามหรือจะก่อจะมากกว่านี้อีกมากเมื่อเขาเข้าใกล้วัยรุ่นหรือถึงวัยรุ่นแล้ว ดังนั้นสองท่านฝึกเจรจาต่อรองพูดตรงกันเอาไว้ก่อนคือดีที่สุด

ความสามัคคีของพ่อแม่มิเพียงใช้ได้กับลูกแต่สามารถใช้ได้กับเสียงอื่นๆ ในบ้านที่เห็นไม่ตรงกันในการฝึกวินัยแก่เด็กๆ ได้แก่ ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา เป็นต้น

หลักการเหมือนกันกล่าวคือท่านเป็นบุพการีมีพระคุณแก่เรา อะไรเรายอมให้ได้ มีความเสียหายแก่ลูกเล็กน้อยเราก็ยอมไป เช่น ทำอาหารไม่สะอาด คิดเสียว่าท้องเสียรักษาได้ แต่ดูหน้าจอก่อนสองขวบหากโชคร้ายไม่พูดอีกเลยและรักษาไม่ค่อยจะได้ เช่นนี้เห็นทีจะถึงเวลาต้องแลกกัน

เราจะเอาทุกอย่างจากบุพการีก็เหมือนจะเอาทุกอย่างจากคู่สมรสหรือเด็กๆ เราทำไม่ได้ ชีวิตเต็มไปด้วยการแลกกันเสมอ เมื่อเรื่องใหญ่ๆ ตกเป็นของเรา ทั้งบ้านยอมเราหมด ลูกก็จะยินยอมด้วยครับ

นายแพทย์ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์
จิตแพทย์และนักเขียน ขวัญใจพ่อแม่ชาวโซเชียล

 

วินัยเชิงบวก, คุณแม่มือใหม่, พัฒนาการเด็ก

  • Hits: 5371